Technology design
การกลั่น
การกลั่น (อังกฤษ: Distillation)
เป็นกระบวนการทางเคมีอย่างหนึ่ง
ในการแยกของเหลวผสมของสาร2ชนิด
หรือมากกว่า(สารละลาย)โดยอาศัย
คุณสมบัติจุดเดือดที่แตกต่างกัน
เมื่อให้ความร้อนกับของเหลวจนอุณหภูมิถึง
จุดเดือดของสารชนิดหนึ่ง สารชนิดนั้นจะระเหยออกมาเป็นไอ
ผ่านท่อที่มีการลดอุณหภูมิทำให้เกิดการควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วิธีนี้ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
ประเภทการกลั่น
-
การกลั่นแบบง่าย (simple distillation) เป็นการกลั่นแยกสารผสมออกจากกัน โดยสารผสมต้องมีอุณหภูมิต่างกัน 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-
การกลั่นแบบลำดับส่วน (fractional distillation) เป็นการกลั่นเหมือนการกลั่นแบบง่ายแต่เป็นการกลั่นแบบสารผสมที่ใกล้เคียงกันมาก คือจุดเดือดใกล้เคียงกันมากแต่การกลั่นนี้ต้องใช้อุณหภูมิที่เที่ยงตรงมาก ๆ ไม่เช่นนั้นจะทำให้สารจะไม่บริสุทธิ์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองการกลั่นลำดับส่วน จะคล้ายกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกลั่นแบบธรรมดา แต่จะมีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเข้ามาคือส่วนหัวกลั่น (Distilling head) จะใช้คอลัมน์แฟรกชั่น ( Fractionating column) ที่ต่อเข้ากับขวดก้นกลม (round bottom flask) เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) และตัวควบแน่น (condensor) โดยส่วนใหญ่แล้วการกลั่นลำดับส่วนจะประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม (petroleum refineries) ปิโตรเคมี (petrochemical) อุตสาหกรรมเคมีอื่น (chemical plants) และกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติ (natural gas processing plants)
-
การกลั่นแบบน้ำมันดิบ (refining) เป็นการกลั่นน้ำมันที่เราได้มาจากใต้ดินทำให้มีสารแตกต่างกันมากมาย สารแต่และตัวมันจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไปโดยจำนวนของคาร์บอน โดยเราจะแบ่งหอกลั่นได้ 8 ชั้น โดยจะเรียงคาร์บอนน้อยมันจะลอยขึ้นไปอยู่ด้านบน จะเรียงจากคาร์บอนน้อยไปมากดังนี้ ก๊าซมีเทน ก๊าซบิวเทน แนฟทาเบา แนฟทาหนัก น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น พาราฟิน น้ำมันเตาและยางมะตอย
-
การกลั่นแบบสกัดโดยไอน้ำ (steam distillation) นิยมใช้ในการสกัดน้ำมันหอมระเหย เพราะไม่ละลายน้ำ ระเหยได้ง่าย โดยใช้ไอน้ำในการทำให้น้ำมันหอมระเหยเป็นไอปนมากับไอน้ำ และควบแน่นที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำมัน เพื่อให้ได้ของเหลวที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ชั้นบนและน้ำอยู่ชั้นล่าง